วิทยาเขต สารสนเทศเพชรบุรี

ประวัติความเป็นมา

มหาวิทยาลัยศิลปากร มีนโยบายในการกระจายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาค จึงขยายเขตการศึกษาไปตั้งวิทยาเขตแห่งใหม่ที่จังหวัดเพชรบุรี ใช้ชื่อว่า วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี ตั้งอยู่บนเลขที่1 หมู่ที่3 ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี มีพื้นที่ 621 ไร่ เริ่มก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2540 ที่ตั้งวิทยาเขตสารสนเทศ แห่งนี้มีความเหมาะสมทั้งทางภูมิศาสตร์ และศักยภาพของสภาพแวดล้อมทางกายภาพทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ดิน ตลอดจนระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภค/ สาธารณูปการ เพราะอยู่ติดถนนใหญ่ เส้นทางสำคัญจากกรุงเทพฯ มุ่งสู่ภาคใต้ ในพื้นที่มีบึงน้ำจืดขนาดใหญ่ อุดมด้วยพันธุ์ไม้นานาพรรณ พื้นที่โดยรอบข้างเคียง มีโรงเรียนวิทยาลัย เกษตรกรรมและเทคโนโลยี กรมปศุสัตว์ ฯลฯ อีกทั้งจังหวัดเพชรบุรี ยังเป็นศูนย์กลางบริเวณภาคกลางตอนล่างที่ติดต่อกับภาคใต้ตอนบน เป็นจังหวัดที่มี ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ สังคม ศิลปวัฒนธรรมมีสถาปัตยกรรมเก่าแก่ที่ทรงคุณค่าหลายแห่ง ชีวิตความเป็น อยู่ของ ประชาชนในพื้นที่ สอดคล้องกับเป้าหมายในการเปิดบริการทางการศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ ขึ้นใหม่ ซึ่งมีหลักการที่สืบเนื่อง มาจากสาขาวิชาต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยมีการเปิดดำเนินการมาแล้ว สามารถร่วมเปิดสอนเป็นวิชาศึกษาทั่วไปได้ สร้างความพร้อมให้ สาขาวิชาที่จะเปิดขึ้นใหม่ เจริญพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว

สิ่งอำนวยความสะดวก

โรงแรม
โรงแรมเวอริเดียน ลอดจ์และภัตตาคาร

โรงแรมเวอริเดียน ลอดจ์และภัตตาคาร ศูนย์ฝึกปฎิบัติการโรงแรม ของนักศึกษาสาขาธุรกิจโรงแรมและที่พัก คณะวิทยาการจัดการ ตั้งอยู่บริเวณอาคารเรียนรวม ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร เปิดให้บริการห้องพักที่สะอาด ปลอดภัยพร้อมบริการอาหารและเครื่องดื่มรสชาติอร่อยในราคามิตรภาพ

ห้องพัก อยู่บริเวณชั้น 4 ของอาคารเรียนรวม มีห้องพักจำนวน 20 ห้อง ทุกห้องตกแต่งอย่างสวยงาม มีระเบียงส่วนตัว ที่สามารถเปิดรับอากาศบริสุทธิ์ในยามเช้า ภายในห้องพักมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน

ที่มารูปประกอบ : http://www.viridianlodge.su.ac.th/th/images/gallery/p4_l.jpg
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.viridianlodge.su.ac.th/th/room.htm

ภัตตาคาร ( Viridian Restaurant )
ภัตตาคาร ( Viridian Restaurant )

ตั้งอยู่ที่ อาคารเรียนรวม ชั้น 1 บริการอาหารหลากหลายเมนู พิถีพิถันเพื่อรสชาติที่ดีที่สุดจากเชฟฝีมือเยี่ยม ภายในภัตตาคารสะดวกสบาย รองรับผู้ใช้บริการได้ 80 คน เปิดให้บริการอาหารตามสั่ง (A la Care) และบุฟเฟต์นานาชาติ (International Buffet) ทุกวันจันทร์-ศุกร์ (เฉพาะเปิดภาคการศึกษา) บริการจัดอาหารว่างสำหรับการประชุม/สัมนา และงานเลี้ยง

ที่มารูปประกอบ : http://www.viridianlodge.su.ac.th/th/images/gallery/p7_l.jpg
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.viridianlodge.su.ac.th/th/restaurant.htm

ร้านจำหน่ายเบเกอรี่ ( Viridian Bakery Shop )

ตั้งอยู่ที่อาคารเรียนรวม ชั้น 1 และอาคารวิทยบริการ ชั้น 1 บริการเค้กนานาชนิด เค้กวันเกิด ไอศครีม คุกกี้ ขนมปัง สดใหม่จากเตาทุกวัน ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.30 น. (เฉพาะเปิดภาคการศึกษา

คอฟฟี่ เฮ้าส์

ตั้งอยู่ที่อาคารเรียนรวม ชั้น 1 บริการเครื่องดื่ม ชา กาแฟ ที่สร้างสรรค์โดยนักศึกษาและผู้เชี่ยวชาญ ที่บรรจงเลือกวัตถุดิบชั้นดี ให้ท่านได้ผ่อนคลายในบรรยากาศสบายๆ กลางสวน ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-16.30 น. (เฉพาะเปิดภาคการศึกษา)

ห้องสมุด ห้องสมุด

ตามที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ขยายการจัดการเรียนการสอนไปยังวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี เพื่อเปิดสอนคณะวิชาที่เหมาะสมตามที่ระบุไว้ในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติฉบับที่ 8 พร้อมได้จัดทำและปรับแผนแม่บทวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี (พ.ศ. 2545 - 2549) ให้สอดคล้องกับข้อจำกัดทางด้านการเงินการคลังของประเทศโดยให้ยังคงสามารถปฏิบัติพันธกิจได้อย่างครบถ้วน และในภาคการศึกษา 2545 นี้จะมีการเรียนการสอนในคณะวิชาสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และคณะวิทยาการจัดการ ณ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

สำนักหอสมุดกลาง ในฐานะเป็นหน่วยงานด้านบริการทางวิชาการแก่มหาวิทยาลัย จึงได้จัดเตรียมการเพื่อเปิดให้บริการหอสมุด ณ วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี และมีความพร้อมในการให้บริการหนังสือ วารสาร โสตทัศนวัสดุ รวมทั้งการบริการสถานที่นั่งอ่าน การให้บริการยืมคืนด้วยระบบห้องสมุดอัตโนมัติ (INNOPAC) และบริการอื่น ๆ ของหอสมุด ให้แก่อาจารย์และนักศึกษาในวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีในปีการศึกษา 2545

มหาวิทยาลัยศิลปากรจัดตั้งหอสมุดกลางขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2507 โดยตั้งอยู่ในอาคารสำนักงานอธิการบดี มีฐานะเป็นแผนกสังกัดกองกลาง สำนักงานอธิการบดีวังท่าพระ ต่อมาในปีพ.ศ.2511 มหาวิทยาลัยขยายการจัดการศึกษาไปยังวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐมจึงได้จัดตั้งห้องสมุดอีกแห่งหนึ่งขึ้นที่พระราชวังสนามจันทร์ และเมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม 2532 มหาวิทยาลัยได้รวมหอสมุดวิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์และวังท่าพระเข้าด้วยกัน โดยจัดตั้งเป็น“ สำนักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศิลปากร” ต่อมา มหาวิทยาลัยขยายการศึกษาไปยังวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จึงได้เปิดหอสมุดวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีขึ้น อีกแห่งหนึ่ง เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2545เป็นห้อง สมุดเล็กๆ ตั้งอยู่ในตึกอาคารเรียน รวมชั้น3 ปี พ.ศ. 2549ได้ย้ายหอสมุดมาอยู่ ณ ตึกอาคารวิทยบริการ ชั้น 1 ชั้น 2 ประกอบด้วยพื้นที่ให้บริการจำนวน 1,949.29 ตารางเมตรต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการปรับปรุงตกแต่งภายในอาคารหอสมุดทั้ง 2 ชั้น ให้มีความทันสมัยรองรับการเรียนการสอนของคณะวิชาต่างๆ

ที่มารูปประกอบ : http://www.pitc.lib.su.ac.th/phet-web/images/stories/12/DSCF2395.JPG
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.pitc.lib.su.ac.th/phet-web/

ศูนย์คอมพิวเตอร์

ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับอนุมัติจัดตั้งอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2533 โดยมีภาระกิจหลักในการ ให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์และการวิจัยในรายวิชาคอมพิวเตอร์ และรายวิชาต่างๆ ที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัย เพื่อให้ได้ประโยชน์สำหรับนักศึกษาโดยให้ได้ผลตรงตามความต้องการของ ตลาด ซึ่งจะใช้ห้องปฏิบัติการไมโครคอมพิวเตอร์ในการฝึกหัด ให้ นักศึกษามีประสบการณ์เพิ่มมากขึ้น และให้บริการในการพัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ และระบบสารสนเทศ ในงานบริหารธุรการของมหาวิทยาลัย รวมทั้งส่งเสริมการผลิตสื่อการเรียนการสอน นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการฝึกอบรมทางวิชาการ แก่บุคลากรของมหาวิทยาลัย ให้บริการเครือข่าย ตลอดจนให้บริการวิเคราะห์ข้อมูล และ คอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรมแก่ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ และดำเนินการ วิจัยในด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนด้านที่สามารถจัดทำได้ โดยศูนย์คอมพิวเตอร์ ให้บริการดังกล่าวในทุกวิทยาเขต ของมหาวิทยาลัย ได้แก่ วิทยาเขตวังท่าพระ สำนักงานอธิการบดีตลิ่งชัน วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ และวิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี

รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.cc.su.ac.th/index.php

ติดต่อ/การเดินทาง

รถยนต์ จากกรุงเทพฯ สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ

  • เส้นทางแรก ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ ทางหลวงหมายเลข 35 ผ่านจังหวัด สมุทรสาคร สมุทรสงครามแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนเพชรเกษม เส้นทางหลวงหมายเลข 4 พอถึงแยก ชะอําให้ใช้ถนน Bypass ชะอํา - ปราณบุรี เรื่อยมาจนเกือบถึงหัวหิน มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ทาง ขวามือ มีป้าย "ม.ศ.ก." สีขาว ซึ่งเป็น คําย่อชื่อมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นจุดสังเกต รวมระยะทาง ประมาณ 200 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง
  • - เส้นทางที่สอง ใช้เส้นทางสายเพชรเกษม ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านพุทธมณฑล นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และใช้ถนนเส้น bypass ชะอํา - ปราณบุรี รวมระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง

รถโดยสารประจําทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี บริษัท ขนส่ง จํากัด สามารถใช้บริการรถ โดยสารประจําปรับอากาศ(ป.1) ได้หลายสาย ดังนี้

  • สายกรุงเทพฯ -ประจวบ
  • สายกรุงเทพฯ -บางสะพาน

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีขนส่งสายใต้ โทร 0-2435-1199 0-24351200 (ปรับอากาศ) , 0-2434-5557-8 (ธรรมดา)

รถไฟ จากสถานีรถไฟหัวลำโพงมีบริการรถไฟสายใต้ไปที่สถานีรถไฟหัวหิน ติดต่อสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟ แห่งประเทศไทย โทร.1690 , 0-2223-7010 , 0-2223-7020

รถตู้ มีบริการสำหรับนักศึกษาที่ต้องการเดินทางโดยสารรถตู้ สามารถเลือกบริการรถตู้ได้ ดังนี้

  • รถตู้บริเวณหมอชิต 2 เป็นรถตู้สายกรุงเทพฯ-ปราณบุรี
  • รถตู้บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ฝั่งถนนพหลโยธิน เป็นรถตู้สายกรุงเทพฯ-ปราณบุรี
  • รถตู้ปั๊มน้ำมัน SUSCO ถนนบรมราชชนนี เยื้องทางเข้าโรงพยาบาลเจ้าพระยา ใกล้สายใต้เดิมเป็นรถตู้สาย กรุงเทพฯ-ประจวบฯ
  • รถตู้จากจังหวัดนครปฐม ซึ่งจอดตรงข้ามกับมหาวิทยาลัยศิลปากรนครปฐม วิ่งไปมาระหว่างมหาวิทยาลัยศิลปากรนครปฐม และมหาวิทยาลัยศิลปากรเพชรบุรี

ติดต่อภายใน

มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี หมายเลขโทรศัพท์กลาง 0-3259-4043 -50 กดเบอร์ภายใน หรือใช้เบอร์ 50-4 กดเบอร์ภายใน โทรศัพท์ตรง 0-3259-4029-30 หมายเลขโทรสาร 0-3259-4026

ที่มารูปประกอบ : http://su.bighead.co.th/portals/0/Images/mappet.gif
รายละเอียดเพิ่มเติม : http://www.pitc.su.ac.th/tel.htm